แพทย์แผนจีน
วิธีการรักษาโรคของแพทย์แผนจีน 8 วิธี
เขียนโดย ธนาวัชร์ ธนาชววัฒน์วิธีการรักษาโรคของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธี แต่ละวิธีล้วนมีจุดเด่นในตัวเอง จากประสบการณ์อันยาวนานของแพทย์จีนทําให้การรักษาโรคเป็นระบบมากขึ้นการรักษาโรคของแพทย์แผนจีน แบ่งเป็น 8 วิธี ดังนี้
1. วิธีขับเหงื่อ คือ การรักษาโรคด้วยยาที่ไปขจัดสาเหตุของโรคที่ส่วนนอกของร่างกายให้ออกไปจากร่างกายทางเหงื่อ ส่วนมากใช้รักษากลุ่มอาการ หรือโรคที่เกิดจากสาเหตุภายนอกของร่างกาย
2. วิธีอาเจียน คือ การรักษาโดยการขับเสมหะ หรือน้ําลายที่คั่งค้างอุดตันอยู่ในลําคอหรือทรวงอกออกจากร่างกายทางปาก ใช้รักษาผู้ที่อาหารไม่ย่อย หรือรับประทานสารพิษเข้าไป วิธีการรักษาโดยทําให้อาเจียนเป็นการรักษาโรคฉุกเฉิน จึงควรใช้เมื่อจําเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะการอาเจียนทําให้สูญเสียอินและชี่ การอาเจียนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉียบพลันของความดันในทรวงอกและท้อง จึงห้ามใช้วิธีกระตุ้นให้อาเจียนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดโป่งพอง โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล วัณโรคปอดที่มีเลือดออกง่าย และหญิงมีครรภ์
3. วิธีระบาย คือ การขับสิ่งที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารและลําไส้ ได้แก่ อาหารที่ไม่ย่อย อุจจาระที่แข็ง ความเย็นคั่ง เลือดคั่ง หรือเสมหะ และของเหลวคั่ง โดยการขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก มี 4 วิธี ได้แก่ วิธีระบายโดยใช้ยาที่มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น ยาอุ่น ยาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลําไส้เล็กเป็นหลัก และยาขับน้ําออกจากลําไส้อย่างรุนแรง
4. วิธีประสาน คือ วิธีรักษาโรคโดยการปรับความผิดปกติให้พอดี ทําให้ อิน-หยาง กลับมาอยู่ในสมดุล ช่วยเสริมลมปราณต้านทานโรคและขจัดลมปราณก่อโรค ใช้รักษาความผิดปกติของเลือดและลมปราณของอวัยวะภายใน
5. วิธีให้ความอบอุ่น คือ การรักษาโรคโดยการให้ความอบอุ่น ขับไล่ความเย็นในอวัยวะภายในและเส้นลมปราณ แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ วิธีให้ความอบอุ่นจงเจียวเพื่อขับไล่ความเย็น วิธีให้ความอบอุ่นเสริมหยาง และวิธีให้ความอบอุ่นเส้นลมปราณขับไล่ความเย็น
6. วิธีลดความร้อน คือ การรักษากลุ่มอาการภายในของร่างกายจากสาเหตุความร้อนและไฟ โดยระบายความร้อนและดับไฟ ยาที่ใช้ระบายความร้อนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ และลดไข้ ยาลดความร้อนส่วนมากมีคุณสมบัติหนาวเย็น ถ้ารับประทานนานเกินไปจะกดการทํางานของม้ามและกระเพาะอาหาร ทําให้มีอาการเบื่ออาหาร
7. วิธีบํารุง คือ การรักษาโรคด้วยการหล่อเลี้ยง เสริมบํารุงชี่และเลือด และอิน-หยางของร่างกายใช้รักษากลุ่มอาการพร่องอ่อนแอของอวัยวะภายใน ชี่และเลือด และอิน-หยาง แบ่งเป็น 4 วิธี ได้แก่ การบํารุงชี่ การบํารุงเลือด การบํารุงหยาง และการบํารุงอิน การใช้ยาเสริมบํารุง ต้องคํานึงถึงการทําหน้าที่ย่อยอาหารของม้ามและกระเพาะอาหาร ถ้าม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ จะต้องใช้ยากระตุ้นการทํางานของม้ามและกระเพาะอาหารก่อน หรือให้ยาเสริมบํารุงควบคู่กับยากระตุ้นการทํางานของม้ามและกระเพาะอาหาร
8. วิธีทําให้สลาย คือ การสลายการคั่งหรือการสะสมของชี่และเลือด เสมหะ น้ำ หรือก้อน โดยการปรับการไหลเวียนของชี่ ระบายการคั่งของเลือด ขับความชื้นทางปัสสาวะ เร่งการย่อยอาหาร ขับเสมหะ สมานแผล ฝี แบ่งเป็น 6 วิธี ได้แก่ การปรับการไหลเวียนของชี่ให้เป็นปกติ การเพิ่มการไหลเวียนเลือด การขับความชื้นออกทางปัสสาวะด้วยยาขับปัสสาวะ การขับเสมหะที่คั่งอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย การเร่งการย่อยอาหารที่คั่งค้าง และการสลาย หรือสมานแผล ฝี ที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน
เครื่องดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง1 เป็นสูตรยาที่ใช้ วิธีประสาน วิธีบำรุง และ วิธีทำให้สลาย เป็นหลัก
-
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 27 สิงหาคม 2559
-
ฮิต: 18300
บทความที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่ชมล่าสุด
ข่าวสุขภาพ
16.09.2018
การรับมือกับไขมันทรานส์
ตั้งแต่ที่ได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.
+ View