ทั่งเซียมเจ็ง
วิธีการดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง1
เขียนโดย ธนาวัชร์ ธนาชววัฒน์ข้อแนะนำในการดื่มยาน้ำสมุนไพร ทั่งเซียมเจ็ง1 ทั่งเซียมเจ็ง1 แต่ละขวดจะมี แก้วตวง แถมให้ 1 ใบ ก่อนอื่นต้องขออธิบายถึงถ้วยตวงที่ติดมากับสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง1 นั้น ตัวเลขที่แสดงข้างถ้วยตวงนั้น ไม่ได้มีหน่วยเป็น ซีซี. เป็นแค่ ขีด เฉยๆ ไม่มีหน่วยใดๆ
วิธีการดื่มสมุนไพร ทั่งเซียมเจ็ง1
ทุกคนตั้งแต่ เด็กแรกเกิด จนถึง วัยชรา สามารถดื่มทั่งเซียมเจ็ง1 ได้ทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ แต่อย่างใด
สำหรับ เด็ก ให้ดื่มตั้งแต่ 1 หยด จนถึง 20 ขีด มากน้อยตามอายุ ถ้าอายุ 12 ปีขึ้นไปดื่มเท่ากับผู้ใหญ่ สำหรับผู้ที่อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ไม่ควรเกินครั้งละ 50 ขีด
ปกติ ดื่มวันละ 2 มื้อ ก่อนอาหารเช้า และ ก่อนอาหารเย็น (หรือ ก่อนนอน) สัปดาห์แรก เริ่มจาก 30 ขีด สัปดาห์ที่ 2 เพิ่มเป็น 40 ขีด สัปดาห์ที่ 3 เพิ่มเป็น 50 ขีด และ สัปดาห์ต่อๆไป ดื่ม 50 ขีด ตลอด
ทุกครั้งที่ดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง ควรดื่มน้ำสะอาด หรือ น้ำอุ่น ตามด้วยปริมาณเท่ากับ สมุนไพรที่ดื่มไป
อาการข้างเคียงจากการขับของเสียออกจากร่างกาย
ช่วงแรกที่ดื่มทั่งเซียมเจ็ง ใหม่ๆ ถ้ามีอาการท้องผูก ให้ดื่มน้ำส้มมะขามเปียกผสมน้ำร้อนใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มหลังอาหารเย็น วันละ 1-3 แก้ว และ ถ้ามีอาการท้องเสียหรือนอนไม่หลับ ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะร่างกายกำลังปรับสมดุล สักพักจะหายไปเอง
ช่วงแรกที่ดื่มทั่งเซียมเจ็ง ใหม่ๆ ทั่งเซียมเจ็ง จะทำการขับของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้น ถ้าท่านมีอาการ อาการ มึนเวียน ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน ตุ่มหัวสิว ร้อนใน เจ็บคอ หรือ ปวดเมื่อย ตามร่างกาย ไม่ต้องตกใจ เพราะจะเป็นไม่กี่วัน ก็จะหายไปเอง อาการดังกล่าวไม่ได้เป็นทุกคน บางคนก็เป็น บางคนก็ไม่เป็น บางคนมีอาการอย่างเดียว บางคนมีอาการหลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเสียที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย และภูมิต้านทานแต่ละคนไม่เท่ากัน อาจจะมีคนไข้บางคนขับของเสียออกไปรอบแรกแล้ว พอกลับมาดื่มทั่งเซียมเจ็งอีก ก็มีการขับของเสียรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 อีกก็ได้
ถ้ามีอาการ ไอ แนะนำให้เติม เกลือป่น ผสมใน ทั่งเซียมเจ็ง เล็กน้อยในแก้วตวง ดื่มต่อเนื่องไประยะหนึ่ง จนกว่าอาการไอจะทุเลาลง จึงหยุดเติมเกลือป่น กลับไปดื่มทั่งเซียมเจ็งแบบเดิม
อาการต่างๆที่กล่าวมาแล้ว เป็นอาการเพียงเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ที่แจ้งเตือนไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ตกใจ และอาการเหล่านี้ มิได้เกิดขึ้นกับทุกคน ทั่งเซียมเจ็ง เป็นสมุนไพรที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ดื่ม ไม่มีสารพิษเจือปน ได้ อย.ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ท่าน อย่าได้สงสัยในตัวสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง จงดื่มต่อให้ผ่านอาการขั้นต้นนี้ไปให้ได้ แล้วท่านก็จะมีสุขภาพดีขึ้นแน่นอน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ระหว่างดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง ควรงดเว้น อาหารบางชนิด ได้แก่ หน่อไม้ หัวไชเท้า ฟักแฟง แตงกวา แตงโม และ เบียร์
ผู้ที่มีรอบเดือน หรือ อาการไตอ่อนแอ ควร หลีกเลี่ยง การดื่ม น้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำอัดลม และ น้ำมะพร้าวอ่อน
สำหรับโรคเบาหวาน ควร งดของหวานทุกชนิด นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้าอัดลม นํ้าหวาน ขนมหวาน นมข้นหวาน นํ้าเชื่อม ถ้าอดไม่ได้ ให้ใช้นํ้าตาลเทียมได้
สำหรับ โรคเก๊าท์ ควร งด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก อาหารทะเลบางชนิด ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอยเชลล์ ไข่ปลา กะปิ น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ เห็ด ซุปก้อน ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ปลากระป๋องซาร์ดีน ผักยอดผักอ่อนบางประเภท ได้แก่ ยอดมะพร้าวอ่อน กระถิน สะเดา ชะอม
การดื่ม ทั่งเซียมเจ็ง ควบคู่กับ ยาที่ได้มาจากโรงพยาบาล
ในระหว่างที่ท่านดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็งอยู่ ท่านสามารถ รับประทาน ยาจากโรงพยาบาล ควบคู่กันไปกับ ทั่งเซียมเจ็ง ได้ ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน แต่ให้กินห่างกัน 1 ชั่วโมง เมื่อถึงวันที่คุณหมอนัด ก็ไปโรงพยาบาลตามนัดปกติ เมื่ออาการดีขึ้น คุณหมอจะปรับลดยาลงไปเอง คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้หยุดกินทั่งเซียมเจ็ง ก่อนไปพบหมอ 2-3 วัน เพราะถ้ากินต่อเนื่องแล้วไปหาหมอ ค่าน้ำตาลจะผิดปกติ
การดื่ม ทั่งเซียมเจ็ง ควบคู่กับ สมุนไพรอื่น
เพราะแต่ละสูตรยาจะมีความลงตัว ปรับสมดุลหยินหยางในตัวของเขาอยู่แล้ว การกินทั่งเซียมเจ็งควบคู่กับสมุนไพรอื่นพร้อมๆกัน อาจทำให้สูตรยาเพี้ยนไปได้ แต่อาจจะมีสมุนไพรบางตัวสามารถกินเสริมได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทั่งเซียมเจ็งดีมากยิ่งขึ้น เช่น กิน เซียมย้งป้อ ควบคู่ไปกับทั่งเซียมเจ็ง หรือ กิน เซียมจูป้อ ควบคู่ไปกับทั่งเซียมเจ็ง เป็นต้น หรือ การกินแคปซูลเขากวางอ่อนควบคู่ไปกับทั่งเซียมเจ็งได้ เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้ดีมากยิ่งขึ้น เหมือนกับว่า ผู้ดื่มรู้สึกว่าเขากวางอ่อนที่อยู่ในทั่งเซียมเจ็ง ก็กินเสริมเข้าไปได้
การดื่ม ทั่งเซียมเจ็ง ควบคู่กับ เซียมย้งป้อ หรือ เซียมจูป้อ
การกิน แคปซูลเซียมย้งป้อ ควบคู่ไปกับ ทั่งเซียมเจ็ง หรือ กิน แคปซูลเซียมจูป้อ ควบคู่ไปกับ ทั่งเซียมเจ็ง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สมุนไพรทำงานดียิ่งขึ้น เวลากิน ให้กิน แคปซูล ก่อน แล้วกิน ทั่งเซียมเจ็ง ตามไปพร้อมกันเลย ให้ยาแคปซูลละลายไปพร้อมกับน้ำสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง
เนื่องจาก ทั่งเซียมเจ็ง มีสรรพคุณในการ รักษา 70% บำรุง 30% ส่วน เซียมย้งป้อ มีสรรพคุณในการ รักษา 30% บำรุง 70% การดื่ม ทั่งเซียมเจ็ง ควบกับ เซียมย้งป้อ จะทำให้สรรพคุณเพิ่มขึ้นเป็น รักษา 100% บำรุง 100%
การดื่ม ทั่งเซียมเจ็ง ควบกับกิน เซียมย้งป้อ จะช่วยให้อาการของโรคเห็นผลเร็วขึ้น ตัวอย่าง เช่น
- ไซนัสอักเสบ แนะนำให้กิน ทั่งเซียมเจ็ง ควบกับ เซียมย้งป้อ 2 มื้อๆละ 2 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า กับ ก่อนอาหารเย็น จะช่วยให้อาการไซนัสหายเร็วขึ้น
- แท้งบุตร สตรีที่แท้งบุตร ทำให้มดลูกไม่แข็งแรง ผนังมดลูกไม่จับกับตัวเด็ก ให้กิน ทั่งเซียมเจ็ง 30 ขีด ควบกับ เซียมย้งป้อ 2แคปซูล ก่อนอาหารเช้า กับ ก่อนนอน กินต่อเนื่องประมาณ 3-4 เดือน อาการจะดีขึ้น
- คนไข้หลังผ่าตัด แนะนำให้กิน ทั่งเซียมเจ็ง ควบกับ เซียมย้งป้อ 2 มื้อๆละ 2 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า กับ ก่อนอาหารเย็น จะช่วยให้อาการหายจากพักฟื้นได้เร็วยิ่งขึ้น
- โรคอื่นๆ กรุณาโทรสอบถาม
ทั่งเซียมเจ็ง ต้องแช่ ตู้เย็น หรือไม่?
ปกติคนทั่วไปมักจะกังวลว่า ทั่งเซียมเจ็ง จะบูดหรือเน่าเสีย จึงนำไปแช่ในตู้เย็น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องนำ ทั่งเซียมเจ็ง ไปแช่ในตู้เย็นแต่อย่างใด ทั้งนี้เป็นเคล็ดวิชาลับเฉพาะของคุณหมอณรงค์ พุ่มโพธิงามในการปรุงยาที่ไม่ใส่สารกันบูด แต่สามารถวางไว้นอกตู้เย็นโดยที่ไม่บูด
แต่ถ้าท่านต้องการดื่มทั่งเซียมเจ็งแบบเย็นๆ ก็สามารถแช่เย็นได้ แต่ถ้าแช่ในตู้เย็นแล้ว ต้องแช่ไว้ตลอด ห้ามเอาออกมาจากตู้เย็น จนกว่า ทั่งเซียมเจ็ง จะหมดขวด
แต่โดยทั่วไป ผมขอแนะนำให้เก็บ ทั่งเซียมเจ็ง ไว้ในอุณหภูมิห้อง อย่าให้โดนความร้อนและความชื้น จะไม่เสียอย่างแน่นอน
เวลาดื่มสมุนไพรทั่งเซียมเจ็ง แนะนำให้เทใส่แก้วตวงแล้วจึงดื่ม อย่ายกขวดดื่มโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ ทั่งเซียมเจ็ง บูด หรือ เน่าเสียได้
ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องดื่มสมุนไพร ทั่งเซียมเจ็ง กรุณา
คลิ๊กที่นี่เพื่อสั่งซื้อทั่งเซียมเจ็งออนไลน์
โทรสั่งซื้อทางโทรศัพท์โดยตรง 094-1234-694 094-1234-794 094-1234-894
สั่งซื้อทางไลน์ Line id: TangSeamJeng
-
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 13 พฤษภาคม 2560
-
ฮิต: 27407
บทความที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่ชมล่าสุด
ข่าวสุขภาพ
16.09.2018
การรับมือกับไขมันทรานส์
ตั้งแต่ที่ได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.
+ View